เปลี่ยนภาษา : Thai Language English Language
PROGRAM VENUE CONFERENCE SYMPOSIUM CULTURE AND ARTS
 
 
คำกล่าวขอบคุณ โดย พระธรรมโกศาจารย์
Press Center : MCU[28/05/2007]
 

คำกล่าวขอบคุณ

โดย พระธรรมโกศาจารย์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และประธานคณะกรรมการดำเนินงานวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ประจำปี ๒๕๕๐

วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ

-----------

พวกเราได้มาร่วมประชุมกัน ตลาดเวลาสี่วันที่ต้องบันทึกไว้ ในการประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ ๔ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ประจำปี ๒๕๕๐ พร้อมกับร่วมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

การประชุมครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ว่า มีผู้เข้าร่วมประชุมมาก จำนวน ๕,๒๕๘ รูป/คน จาก ๖๑ ประเทศ โดยเป็นชาวต่างประเทศประมาณ ๑,๔๐๐ รูป/คน ส่วนที่เหลือเป็นผู้ร่วมประชุมจากภายในประเทศ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า เป็นการประชุมชาวพุทธระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียแห่งปี

หลังจากสี่วัน พวกเราได้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา

ความสำเร็จของเราจะเก็บบันทึกไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งข้าพเจ้าจะขออ่าน ดังต่อไปนี้

 

ปฏิญญากรุงเทพฯ

การประชุมพระพุทธศาสนานาชาติ  ครั้งที่ ๔

เนื่องในวันวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลแห่งโลก

ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ

ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

 

พวกเราจาก ๖๑ ประเทศและภูมิภาค  ที่เข้าร่วมประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลแห่งโลก ณ พุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ  กรุงเทพฯ  ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๙ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐ ขอรับรองแข็งขันว่า  การประชุมครั้งนี้  ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง  จากคณะรัฐบาลไทยและมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย  ในขณะที่พระราชอาณาจักรแห่งประเทศไทย  กำลังปลื้มปิติยินดีกับการฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนพรรษา๘๐ พรรษา  จึงมีมติเป็นเอกฉันท์  ต่อไป

            สืบเนื่องจากมติสมัชชาสหประชาชาติ  สมัยที่ ๕๔  รายการที่ ๑๗๔  เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.  ๒๕๔๒  ผู้แทนจาก ๓๔ ประเทศ  ได้รับรองข้อเสนอร่วมกันให้วันวิสาขบูชาซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม  เป็นวันสำคัญสากล  และให้มีการจัดงานที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานส่วนภูมิภาค  ตั้งแต่พุทธศักราช  ๒๕๔๓  เป็นต้นมา  จึงเป็นเหตุให้ชาวพุทธนิกายต่าง ๆ  ทั้งหมดร่วมฉลองวันวิสาขบูชา  วันสำคัญสากลแห่งโลก

            ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น  เสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  ในหมู่ที่นับถือพระพุทธศาสนา  องค์การต่าง ๆ  ปัจเจกบุคคล  โดยอาศัยการพูดคุยสนทนากันระหว่างผู้นำชาวพุทธและนักวิชาการ

            จึงตัดสินใจให้มีการเผยแผ่สาส์นแห่งสันติภาพ  ซึ่งมีหลักคำสอนเรื่องปัญญาและเมตตาของพระพุทธเจ้าเป็นหลักพื้นฐาน

            หลังจากนั้นได้ค้นหาประเด็นต่าง ๆ  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับชาวโลก ที่ประชุมได้ตกลงว่า

(๑) เพิ่มพูนความร่วมมือยิ่งขึ้น  ในระหว่างชาวพุทธทุกนิกาย  เพื่อให้เกิดเอกภาพและความเข็มแข็งในหมู่พุทธศาสนิกชนยิ่งขึ้น

(๒) รับรองเรื่องความมีน้ำใจและบทบาทสำคัญที่พระราชอาณาจักรแห่งประเทศไทย  เป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชา  วันสำคัญสากลแห่งโลก  ใน ๔ ปี ที่ผ่านมา   และรับรองสนับสนุนประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  เป็น        เจ้าภาพจัดงาน  ในปี ๒๕๕๑

(๓) ยืนยันให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสำนักงานเลขาธิการนานาชาติ   สำหรับคณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชา  วันสำคัญสากล

(๔) ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมงานด้านสงคม (การเผยแผ่เชิงรุก) และขอร้องให้ผู้นำชาวพุทธแสดงบทบาทสำคัญเกี่ยวกับประเด็น เรื่องศีลธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรมทางสังคม  เรื่องการให้โอกาสเสมอภาคกัน เรื่องธรรมาภิบาล และเรื่องความโปร่งใส

(๕) รับรู้ถึงแรงบันดานใจให้ประเทศและภูมิภาคทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกของชาวพุทธ  และโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNBP) ที่ได้รับจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยในเรื่องธรรมภิบาล  และการพัฒนาตลอด ระยะเวลากว่า ๖๐ ปีที่ทรงครองราชย์

(๖)  สนับสนุนการจัดประชุมพระพุทธศาสนาแห่งโลก  ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศจีนในปี ๒๕๕๑

(๗) สืบต่อโครงการห้องสมุดพระพุทธศาสนาทางอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งเริ่มตั้งมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ในฐานะเป็นหุ้นส่วนระหว่างการศึกษาพุทธธรรมและเครือข่ายบุดดาเน็ต  กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  และบันทึกความสนใจต่อโครงการนี้ล้นหลาย  จากสถาบันการศึกษาชั้นสูงทาง พระพุทธศาสนาหลายแห่ง ที่มาร่วมประชุมกัน

(๘) สืบต่อโครงการจัดพิมพ์งานด้านพระพุทธศาสนา  ที่จะแจกจำหน่ายฟรีไป

       ตามโรงแรมต่าง ๆ  ทั่วโลก

(๙)  ขอร้องให้ทุกฝ่าย  องค์การสหประชาชาติ  ยูเนสโก  รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ให้อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา  ทั้งเป็นมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้  และส่งเสริมให้ไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน  ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

(๑๐) บันทึกข้อมูลการประชุมครั้งนี้เป็นประวัติศาสตร์  และสนับสนุนการทำงาน และความเจริญเติบโตในทุกวิถีทางของ “สมาคมมหาวิทยาลัพระพุทธศาสนานานาชาติ” ที่ประกอบด้วยสถาบันการศึกษาชั้นสูงด้านพระพุทธศาสนา ๘๐ สถาบัน จาก ๒๒ ประเทศและภูมิภาค

(๑๑)  จัดการประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ  ครั้งที่ ๒ ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในปี ๒๕๕๑  ที่กรุงเทพฯ  และขอรับรองความมีน้ำใจของมหาวิทยาลัยแห่งนี้  ที่สนับสนุนเรื่องทุน  อย่างน้อยเป็นเวลา ๑ ปี  ในฐานะเป็นสำนักงานเลขาธิการนานาชาติ

(12)   พูดเน้นคุณค่าที่มีผลและเป็นแบบวิทยาศาสตร์แห่งการปฏิบัติกรรมฐานในการพัฒนามนุษย์ในทุกระดับ  และให้ใช้ทั้งวิถีทางแบบดั้งเดิมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  พร้อมให้ตระหนักเกี่ยวกับการใช้พระพุทธรูปให้ถูกต้อง

 

ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

 

ความสำเร็จของเราเป็นผลแห่งการสนับสนุนที่ได้รับจากหลายคน หลายองค์การ ซึ่งข้าพเจ้าอยากจะขอขอบคุณอนุโมทนา

อันดับแรก พวกเราขอขอบคุณอนุโมทนา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ ที่เสด็จมาเป็นประธานเปิดงาน ณ พุทธมณฑล ในพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ของคณะสงฆ์นานาชาติ เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม     

ขออนุโมทนาต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่รับเชิญมากล่าวปราศรัย ณ ยูเอ็นแห่งนี้

พวกเรานับว่าโชคดีมากที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้เมตตามาเป็นประธานเปิดและปิดการประชุม

ข้าพเจ้าขอขอบคุณอนุโมทนา ฯพณฯ เลขาธิการของยูเอ็นเอสแคป นายคิม
ฮักสุ ที่อนุญาตให้พวกเรามาใช้ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ และยังได้กล่าวคำต้อนรับ

การตระเตรียมงานประชุมครั้งนี้ ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะสำเร็จเรียบร้อย คณะทำงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ของข้าพเจ้าทำงานหนักมาก เพื่อให้การประชุมนี้ประสบความสำเร็จ คณะทำงานมหาจุฬาฯ ทุกคน พร้อมทั้งอาสาสมัคร สมควรได้รับการขอบคุณเป็นพิเศษ ขอให้ช่วยตบมือให้พวกเขา เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความขอบใจ - ขอบคุณ    

ข้าพเจ้าขอขอบคุณเป็นพิเศษแก่คณะกรรมการดำเนินการนานาชาติ (ไอโอซี) ที่ทุกคนทำงานหนัก ทั้งกลางวันและกลางคืน รวมทั้งช่วงระหว่างการประชุมทั้งหมดนี้ เพื่อพระพุทธศาสนา หากปราศจากพวกเขาแล้ว พวกเราคงไม่ได้รับผลสำเร็จตามนี้

 

เพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

หลังจากที่พวกเราร่วมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ในประเทศไทย เป็นเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา พวกเราได้สร้างชื่อใหม่ว่า “วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก” ซึ่งจะกลายเป็นเวทีทั่วไป ในการสร้างเอกภาพทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ผู้นำและนักวิชาการชาวพุทธจะมาร่วมฉลองเหตุการณ์สำคัญ ๓ อย่างของพระพุทธเจ้า และมาทำงานหนักร่วมกัน ข้าพเจ้ามั่นใจว่า จิตวิญญาณให้เกิดเอกภาพของชาวพุทธจะคงดำเนินเติบโตต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า พวกเราขอขอบคุณรัฐบาลเวียดนามและคณะสงฆ์เวียดนาม ในการรับเป็นเจ้าภาพฉลองงานวิสาขบูชาปีหน้า

 

พวกเราได้ร่วมก่อสถาปนา “สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ” เพื่อเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชาวพุทธทั่วโลก ข้าพเจ้าขอขอบใจเป็นพิเศษต่อสมาชิกร่วมก่อตั้ง ในการคัดเลือกให้มหาจุฬาฯ เป็นสำนักงานใหญ่ สำหรับรายละเอียดของสมาคมมหาวิทยาลัยฯ ข้าพเจ้าขอเชิญให้พระ ดร.คำหมาย ธัมมสามิ ในฐานะตำแหน่งเลขาธิการสมาคมได้ขึ้นมากล่าวรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้

----------

 
 
Office of Natinal Buddhism Department of Religious Affairs The Government Public relations Department Mahachulalongkornrajavidyalaya University TRUE Visions