ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ |
๑. หลักการและเหตุผล
วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา
เนื่องด้วยเป็นศิริมงคลดิถึคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานขององคืสมเด็จพระสัมมมสัมพุทธเจ้า
นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติยังได้ประกาศให้การรับรองว่าเป็นวันสำคัญสากล
และเป็นวันหยุดทำการขององค์การสหประชาชาติ โดยปี ๒๕๔๗ นี้
ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา
และเพื่อเป็นการเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พุทธศาสนิกชนจึงถือเป็นอภิลักขิตกาลมหามงคลสมัย ที่ควรแก่การถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านด้วยการบำเพ็ญกุศล
บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
พระสถูปเจดีย์ เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ และรักษาขนบธรรมเนียมอันดีงามของพุทธศาสนิกชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทยให้วัฒนาถาวรคู่ชาติไทยตลอดไป
สำหรับในปี
๒๕๔๗ การจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชาในส่วนกลาง
กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน
จัดงานที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวงโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีกวนข้าวทิพย์
พิธีบวงสรวงเทพยดา พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐาน
ณ ท้องสนามหลวง พิธีรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
การแสดงพระธรรมเทศนามหาชาติทำนองหลวง พิธีถวายพระราชกุศล
เจริญจิตภาวนา การสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย พิธีทำบุญตักบาตร
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ
พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุนส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อรณรงค์ให้เด็ก
เยาวชน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงความสำคัญในวันวิสาขบูชาซึ่งตรงกับวันประสูติ
ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. เพื่อเสริมสร้าง
ปลูกฝัง และยกระดับมาตรฐานคุณธรรมของเด็ก เยาวชน ประชาชน
และเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการร่วมใจกัน ลด ละ เลิก อบายมุข
ทุกชนิด และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ
๗๒ พรรษา
๓. เพื่อส่งเสริมการเผยแด่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางแพร่หลาย
ดำรงมั่นอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป
๔. เพื่อส่งเสริมให้วัดได้จัดกิจกรรมนำประชาชนเข้าวัด
ตักบาตร ทำบุญ เวียนเทียน เป็นศูนย์รวมแห่งการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา
๓. สถานที่จัดงาน
ส่วนกลาง
จัดงาน
ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร
ส่วนภูมิภาค
จัดงาน
ณ สถานที่ส่วนราชการ และวัดต่าง ๆ ในจังหวัดทุกจังหวัด
๔. พิธีการ/กิจกรรม
ส่วนกลาง
จัดให้มีพิธีการและกิจกรรมต่าง
ๆ ทางพระพุทธศาสนา
ระหว่างวันที่
๒๗ พฤษภาคม - ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗
ส่วนภูมิภาค
จัดให้มีพิธีการ
และกิจกรรม ดังนี้
ทำบุญตักบาตร
ฟังธรรม เข้าวัดปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา ทอดผ้าป่า เจริญพระพุทธมนต์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
เวียนเทียนในวันวิสาขบูชา ส่งเสริมการสวดมนต์หมู่สรภัญญะ
การบรรยายธรรม การตอบปัญหาธรรมะ การจัดนิทรรศการทางพระพุทธศาสนา
เช่นพุทธประวัติ หลักคำสอน การจัดนิทรรศการโต๊ะหมู่บูชา
๕. งบประมาณ
สำหรับส่วนภูมิภาค
โดยกรมการศาสนาจัดสรรงบประมาณให้ เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
เจริญจิตภาวนา และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาในเทศกาลวันวิสาขบูชาทุกจังหวัด
๖. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
นิสิต นักศึกษา เยาวชน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้าค่ายปฏิบัติธรรมและร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
จังหวัดละ ๗๒๐ คน ทั่วประเทศ
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ส่วนกลาง
กรมการศาสนา
ร่วมกับวัด หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชน องค์กรทางศาสนาต่าง
ๆ
ส่วนภูมิภาค
วัฒนธรรมจังหวัด
ร่วมกับวัด หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชน องค์กรทางศาสนาต่าง
ๆ ในจังหวัด
๘. การติดตามประเมินผล
ส่วนกลาง
สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
และงานประเมินผล สำนักงานเลขานุการกรม กรมการศาสนา
ส่วนภูมิภาค
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
๙. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. นักเรียน
นิสิต นักศึกษา ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้าวัดปฏิบัติธรรม
และทำกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๒. นักเรียน
นิสิต นักศึกษา ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าใจหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาสามารถนำไปปฏิบัติ
ได้อย่างถูกต้อง
๓. นักเรียน
นิสิต นักศึกษา ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐนำธรรมะไปพัฒนาตนเอง
ให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมอยู่รวมกันในสังคมอย่างสันติสุข
๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. นักเรียน
นิสิต นักศึกษา ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้เข้าวัดปฏิบัติธรรม
และทำกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๒. พุทธศาสนิกชนเข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างลึกซึ้ง
นำหลักธรรมไปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
๓. นักเรียน
นิสิต นักศึกษา ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้คู่คุณธรรม
อยู่ในสังคมอย่างสันติสุข
๔. ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ซึ่งเป็นฐานในการพัฒนาสังคมประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
หมายเหตุ กลุ่มส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมประชาชน สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
รับผิดชอบโครงการ
|