การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
คือ การประกาศตนให้ปรากฎว่า เป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน
ผู้ประสงค์จะประกอบพิธีนี้ ต้องไปมอบตัวกับพระอาจารย์ที่เคารพนับถือ
หากเป็นเด็กหรือนักเรียน ต้องมีผู้ปกครองหรือครูนำไป ควรมีดอกไม้
ธูป เทียน ไปถวายพระอาจารย์ตามธรรมเนียมโบราณด้วย เมื่อไปถึงสำนักพระอาจารย์แล้ว
พิธีกรพึงแนะนำให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ปฏิบัติดังนี้
-
เข้าไปหาพระอาจารย์ ทำความเคารพ กราบเรียนถึงจุดประสงค์ให้พระอาจารย์ทราบ
เมื่อท่านรับแล้วจึงมอบตัว
-
ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถือพานดอกไม้เข้าไปหาพระอาจารย์คุกเข่าลงกับพื้นยกพานดอกไม้ขึ้น
น้อมตัวลงประเคน
-
เมื่อพระอาจารย์รับพานแล้ว ให้ถอยออกมาพอสมควร ประนมมือก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์
๓ ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบเพื่อรับฟังข้อแนะนำ พร้อมทั้งกำหนดนัดหมายวัน
เวลา ที่จะประกอบพิธี
-
ขออาราธนาพระสงฆ์ต่อพระอาจารย์ อย่างต่ำ ๓ รูป รวมพระอาจารย์ด้วยเป็น
๔ รูป คือ ครบองค์สงฆ์ เกินกว่านี้ก็ได้ เสร็จแล้วพึงกราบลาพระอาจารย์
-
เมื่อถึงวันกำหนดนัดหมาย ฝ่ายพระอาจารย์จะจัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธี
พิธีนี้ควรจัดภายในบริเวณวัด โดยเฉพาะในอุโบสถหากมีผู้แสดงตนเป็นจำนวนมาก
จะจัดในศาลาการเปรียญหรือห้องประชุมภายในวัดก็ได้ ผู้แสดงจะแสดงตนเป็นพุทธมามกะควรแต่งกายด้วยชุดสีขาวล้วน
แต่ถ้าจำเป็นเช่นนักเรียนเป็นจำนวนมาก จะแต่งเครื่องแบบตามปกติก็ได้
เมื่อถึงเวลากำหนด พระอาจารย์พร้อมด้วยพระสงฆ์ ก็จะลงมากราบพระพุทธรูปประธาน
แล้วนั่ง ณ อาสนะผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะหมู่บูชา
จุดธูปเทียนและวางดอกไม้ เปล่งวาจาบูชาพระรัตนตรัย ว่า
อิมินา
สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ (กราบ)
อิมินา
สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ (กราบ)
อิมินา
สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ (กราบ)
ถ้ามีผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะเป็นจำนวนมาก
ให้หัวหน้าหรือผู้นำเป็นคนจุดธูป เทียน คนเดียว นอกนั้นให้วางดอกไม้ที่นำมาบูชาพระรัตนตรัย
ด้วยให้หัวหน้าเป็นผู้กล่าวนำบูชา เสร็จแล้วกราบลงพร้อม ๆ
กัน ต่อจากนั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์ ถวายพานเครื่องสักการะ
ถ้าแสดงตนเป็นหมู่คณะ ให้หัวหน้าหมู่เป็นผู้ถวายแทน แล้วกราบลงพร้อม
ๆ กัน หลังจากนั้นกล่าวคำนมัสการและคำปฏิญาณตนให้ฉะฉานต่อหน้าสงฆ์ดังนี้
นะโม
ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม
ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม
ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
เอสาหัง
ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ พุทธะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ.
ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคน
ให้เปลี่ยนคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ดังนี้ เอสาหัง ผู้ชายว่า เอเต
มะยัง ผูหญิงว่า เอตา มะยัง คำว่า คัจฉามิ เป็นคัจฉามะ คำว่า
พุทธะมามะโกติ เป็น พุทธะมามกาติ คำว่า มัง เป็น โน สามคำหลังนี้ว่าเหมือนกัน
สำหรับคำว่า พุทธะมามะโกติ ถ้าผู้หญิงกล่าวแม้คนเดียวก็เปลี่ยนเป็นพุทธะมามะกาติ
เมื่อกล่าวคำนมัสการและคำปฏิญาณจบลงแล้ว
พระสงฆ์จะรับ "สาธุ" พร้อมกัน พึงก้มลงกราบพร้อมกัน
ลดลงนั่งราบกับพื้น ประนมมือรับฟังโอวาท จากพระอาจารย์ต่อไป
หลังจากพระอาจารย์ให้โอวาทจบแล้ว ผู้ปฏิญาณตนรับคำว่า "สาธุ"
แล้วพึงนั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำสมาทานเบญจศีล (คำอาราธนาได้แสดงไว้เบื้องต้นแล้ว
เฉพาะผู้ที่ปฏิญาณตนเป็นพุทธะมามกะคนเดียว เปลี่ยนคำว่า มะยัง
เป็น อะหัง คำว่า ยาจามะ เป็น ยาจามิ ทั้งหญิงและชาย) จากนั้นพึงว่าตามพระอาจารย์ที่บอกเบญจศีล
เริ่มแต่ นะโม .... ฯ เมื่อว่า นะโม ตามจนครบสามจบแล้ว พระอาจารย์จะกล่าวคำว่า
ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ ผู้ปฏิญาณตนรับว่า อามะ ภันเต พระอาจารย์จะบอกไตรสรณคมน์ต่อไป
คือ พุทธัง... ฯ พึงว่าตามไป จบแล้วพระอาจารย์จะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง
นิฏฐิตัง ผู้ปฏิญาณตนพึงรับว่า อามะ ภันเต พระอาจารย์จะบอกเบญจศีล
คือ ปาณาติปาตา...ฯ พึงว่าตนไปจนครบห้าข้อ จากนั้นพระอาจารย์จะกล่าวคำว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ จบเดียว ผู้ปฏิญาณตนต้องว่าตามสามจบ
จากนั้นพระอาจารย์จะบอกอานิสงส์ของศีลจบแล้ว ผู้ปฏิญาณตนพึงกราบลง
๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ก็ให้นำมาถวายให้ในตอนนี้
ถวายเสร็จแล้วนั่งราบ เตรียมกรวยน้ำเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา
การกรวดน้ำนั้น
มีแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาคือ เมื่อพระสงฆ์เริ่มยะถา..... ผู้กรวดน้ำพึงเทน้ำกรวดลงภาชนะที่รองรับ
เมื่อพระสงฆ์กล่าวยะถาจบลงผู้กรวดน้ำพึงเทน้ำให้หมดพอดี และเมื่อพระสงฆ์รูปที่สองรับว่า
สัพพีติโย... พึงนั่งประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วคุกเข่ากราบพระสงฆ์
๓ ครั้ง เป็นเสร็จพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธะมามกะ...ฯ
|